3M Fire Barrier
วัสดุป้องกันไฟลาม วัสดุกันไฟ จาก 3M
  • Home
  • /
  • บทความ
  • /
  • สีกันไฟ
  • /
  • เรื่องทั่วไป

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสีกันไฟ (FIRE GUARD)

สีกันไฟ FIRE GUARD

หลายท่านยังคงสงสัยว่า สีกันไฟ มีประโยชน์อะไร และมีความจำเป็นมากแค่ไหน ถึงต้องระบุให้เป็นกฏหมายที่ต้องทำตาม แถมยังมีมาตรฐานการใช้งานที่ต้องทำให้ถูกต้องด้วย ผมจะขอออธิบายอย่างย่อก่อนจะไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างโพสนี้

 

สีกันไฟ (FIRE GUARD) คืออะไร

สีกันไฟก็คือสีที่ทนความร้อน ทนไฟนั่นแหละ คือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ จะกันไม่ให้โครงสร้างของตัวอาคารได้รับความร้อน และส่งต่อความร้อนไปยังห้องอื่นที่ไม่ใช่ต้นเพลิง ช่วยป้องกันการลามไฟไม่ให้ลุกลาม และยังช่วยให้โครงสร้างอาคารไม่เสียรูป เสียคุณสมบัติความเเข็งแรง รับน้ำหนักโครงสร้างได้ ไม่พังถล่มลงมาก่อน คิดง่ายๆเมื่อเอาเหล็กมาเผาไฟมันจะอ่อนลงนั่นเอง

สีทนไฟเป็นวัสดุกันไฟประเภท Passive Fire Protection มีลักษณะเหมือนสี และคงสภาพเสถียรในสภาวะที่อุณหภูมิภายนอกปกติ แต่ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และอุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นถึงประมาณ 200 °C สารเคมีใน FIRE GUARD จะเริ่มทำปฏิกริยาและพองตัวขึ้นเป็นโฟมสูญญาอากาศ เคลือบผิวเหล็ก ทำให้ความร้อนของเปลวไฟเคลื่อนตัวผ่านไปสู่ผิวเหล็กช้าลงสามารถทนไฟได้ 1 – 3 ชั่วโมง มีความยืดหยุ่นสูง สามารถยึดติดกับชั้นรองพื้นผิวงานโลหะ และโลหะผสม ทำให้ช่วยยับยั้งการแพร่ผ่านของความร้อน ลดการลุกไหม้บริเวณพื้นผิวของวัสดุที่สามารถติดไฟได้

สีกันไฟ13
สีกันไฟ

 

สีกันไฟ14
ตัวอย่างสีทนไฟ

ชนิดสีกันไฟ ที่นิยมใช้กัน

  • DU – FIRE SHIELD # 682 ใช้ทาโครงเหล็กของอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน คอนโดมิเนียม โรงกลั่นน้ำมัน และอาคารทั่วไปที่ต้องการป้องกันไฟ สารฉนวนพิเศษ
  • DU – FIRE SHIELD # 682 ที่ทาผิวเหล็กโครงสร้างอาคาร เมื่อถูกเปลวไฟและความร้อนจะพองตัวและเกิดโฟมสูญญากาศระหว่างผิวเหล็กแและเปลวไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคาร ทำให้ความร้อนเปลวไฟเคลื่อนผ่านโฟมสูญญากาศไปสู่ผิวเหล็กช้าลง โครงสร้างเหล็กทั่วไปจะสูญเสียกำลังเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส (ความร้อนเปลวไฟขณะเกิดเพลิงไหม้ซึ่งสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส) กว่าอุณหภูมิของผิวเหล็กจะสูงถึง 550 องศาเซลเซียส ต้องใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง (ที่ความหนาของฟิลม์สี DU – FIRE SHIELD # 682 ที่ 1 มิลลิเมตร)

 

ชนิดของสีกันไฟ
ชนิดสีกันไฟ

ประเภทสีกันไฟที่ใช้กันมีกี่แบบ

เราแบ่งประเภทสีได้อย่างน้อย 3 ประเภทตามส่วนผสมที่ใช้ผลิต

  • สีกันไฟที่มีตัวทำละลายที่ไม่ใช่น้ำเป็นส่วนประกอบ ( Single Part Solvent-Based )มักใช้กับโครงสร้างที่อยู่ภายนอกอาคารซึ่งมักต้องสัมผัสกับสภาวะแวดล้อมโดยตรง
  • สีกันไฟที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ( Single Part Water-Base )ข้อดีคือกลิ่นจะไม่รุนแรง เหมาะกับการใช้กับโครงสร้างภายในอาคาร แต่ข้อจำกัดคือจะไม่ทนทานต่อสภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่ต่ำ
  • Two-Part Epoxy Solvent Free หรือ Solvent-Based พฤติกรรมเพื่อได้รับความร้อนจะคล้ายกับสองประเภทแรกคือจะมีการขยายตัว แต่จะมีความทนทานต่อคลื่นความร้อนและการสึกกร่อนได้ดีกว่าสองประเภทแรก จึงมักใช้กับพื้นที่ที่เข้าซ่อมบำรุงได้ยาก เช่นโครงสร้างในทะเล โรงงานเคมีอันตราย เป็นต้น
งานสีกันไฟที่ Zyxel (ราชพกฤษ์)

 

สีกันไฟ FIRE GUARD ทำงานอย่างไร

หลังการเผาไหม้
สีกันไฟ4
ก่อนการเผาไหม้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สีกันไฟจะป้องกันไม่ให้โครงสร้างตึก โครงสร้างอาคารได้รับความร้อน จนเสียความเเข็งแรง โดยทั่วไปโครงสร้างเหล็กจะสูญเสียคุณสมบัติในการรับแรงเมื่อเกิดไฟไหม้ และอุณหภูมิของเหล็กสูงถึงจุด 530°C ความต้องการใช้วัสดุกันไฟประเภท “สีกันไฟ” (Fire Protective Intumescent Coating) จึงเพิ่มมากขึ้น

การใช้งาน สีกันไฟ FIRE GUARD

-ใช้ทาโครงสร้างเหล็กของโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล คลังสินค้า และอาคารทั่วไปเพื่อป้องกัน และชะลอการทรุดตัวของอาคารให้ช้าลงเมื่อเกิดเพลิงไหม้

-นอกจากโครงสร้างเหล็กแล้ว FIRE GUARD ยังสามารถใช้ทาวัสดุอื่นๆ เพื่อป้องกันไฟ เช่น วัสดุที่ทำจากไม้, Fiber board และวัสดุที่ทำจากโฟม

-ในกรณีที่ต้องการความสวยงาม หรือการป้องกันพิเศษสำหรับสภาวะแวดล้อมที่กัดกร่อนโครงสร้างเหล็ก สามารถทาทับ FIRE GUARD ด้วยสีทับหน้าประเภท polyurethane, epoxy และ synthetic enamel

การติดตั้งทาสีกันไฟ FIRE GUARD

  • พื้นผิวต้องสะอาดและแห้ง
  • สามารถติดตั้งโดยใช้ แปรง, ลูกกลิ้ง หรือ เครื่องพ่นแบบ Airless Sprayer
  • ไม่แนะนำให้เจือจางสี ในกรณีที่จำเป็นให้ใช้น้ำสะอาดในปริมาณ 5%
  • ไม่ควรติดตั้ง FIRE GUARD เมื่ออุณหภูมิที่พื้นผิวหรืออุณหภูมิภายนอกต่ำกว่า 10 °C หรือความชื้นสัมพัธน์สูงกว่า 85%
  • ใช้น้ำสะอาดในการทำความสะอาดอุปกรณ์
ระบบสีกันไฟ

 

ข้อมูลทางเทคนิคสีกันไฟ

ประเภทของสี เป็นสีกันไฟสูตรน้ำไม่มีส่วนผสมของสารพิษ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
เฉดสี ขาว
ลักษณะฟิล์ม แบบด้าน
ความหนืด 115 – 120 KU @25 °C
ความถ่วงจำเพาะ 1.00 ± 0.05
ค่า pH 8.5 – 9.0
เนื้อสีโดยน้ำหนัก 69 ± 1%
จุดวาบไฟ ไม่มี
ระยะเวลาแห้ง แห้งสัมผัสได้ 3 ชั่วโมง, แห้งแข็ง 12 ชั่วโมง, แห้งสนิท 24 ชั่วโมง
การคลุมพื้นที่ตามทฤษฎี 11 ตร.ม./แกลลอน/500 DFT

 

มาตราฐานและผลการทดสอบสีกันไฟ

  • FIRE GUARD ได้ผ่านการทดสอบจากศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามมาตราฐาน ASTM E119
  • FIRE GUARD ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตราฐาน ISO 9001

การทดสอบตามมาตราฐาน ASTM E119
Test Time: 2:00:30 hrs. Oven Temp: 1016 °C

สี FIRE GUARDก่อนการทดสอบ
สี FIRE GUARDหลังผ่านการทดสอบ
สี FIRE GUARDก่อนและหลังส่วนประกอบสารเคมีทำปฎิกริยา

กฏหมายที่เกี่ยวกับสีกันไฟ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโครงสร้างหลักจากไฟ ประกอบด้วยกฎกระทรวง 3 ฉบับดังนี้

กฏหมายที่เกี่ยวกับสีกันไฟ
กฎหมายสีกันไฟ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อ24 ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
  1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
  2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ.2549) ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

เหตุผลในการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวคือ โดยที่ปัจจุบันโครงสร้างหลักของอาคารส่่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอัตราการทนไฟได้ไม่นาน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้อาคารเกิดการยุบตัวหรือพังทลายได้ง่ายไม่สามารถเข้าช่วยเหลือหรือขนย้ายคนและทรัพย์สิน ออกจากอาคารได้ทัน อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินสมควรที่กำหนดคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคารและวิธีป้องกันโครงสร้างหลักจากไฟ

นอกจากนี้ต้องมีวุฒิวิศวกรโยธาประจำบริษัทจำกัดซึ่งเป็นสถาบันที่เชื่อถือได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ลงนามรับรองอัตราทนไฟในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษาประกอบในการยื่นขออนุญาตด้วย

ตัวอย่างรูปภาพประกอบ

 


บทความโดย : firebarrier.in.th

Posted on 08/06/2017 by admin. This entry was posted in บทความ, สีกันไฟ, เรื่องทั่วไป and tagged fire barrier, fire guard, Passive Fire Protection, การป้องกันอัคคีภัย, ผลิตภัณฑ์กันไฟลาม, วัสดุกันไฟลาม, สีกันไฟ, สีทนไฟ, อุปกรณ์กันไฟลาม, ไฟการ์ด. Bookmark the permalink.
แคตตาล็อกวัสดุกันไฟลาม 3M ดาวน์โหลดได้ที่นี่!!!
กฎหมายสีกันไฟ(FIRE GUARD)

    Categories

    • Business (2)
    • Construction Joint (8)
      • Sealant FD 150+ (4)
      • Water Tight Sealant 1000 NS (3)
      • Water Tight Sealant 1003 SL (5)
    • Design (2)
    • Fire Barrier Composite Sheets, Mortar and Pillows (3)
    • Fire Barrier Devices (3)
    • Fire Barrier Endothermic Mat (2)
    • Fire Barrier Grease and Air Duct Wraps (2)
    • Fire Barrier Moldable Putty (4)
    • Fire Barrier Packing Material (3)
    • Fire Barrier Plastic Pipe, Collars and Accessories (3)
    • Fire Barrier Sealants (9)
    • Fire Blocks (4)
    • Fire-Rated Gasket Materials (2)
    • FireDam Spray (3)
    • Firestop Identification Labels (3)
    • Flexible Wrap (2)
      • Duct Wrap 165+ (2)
      • Fire Protection (2)
      • Firestop Systems (1)
    • Our Customer (2)
    • Resident & Non Rated (4)
      • Foam FB Foam (3)
      • Sealant FB 136 (2)
    • Seallant (5)
    • Smoke and Sound Sealant (2)
    • Structural Steel Protection (1)
    • Through Penetration Fire Stops (15)
      • Barrier Pillows (1)
      • Coating (1)
      • Composite Sheet CS-195+ (1)
      • Device & Kids (1)
      • Moldable Putty MP+ Stix and Pads (1)
      • Mortar (3)
      • Packing Material (2)
      • Sealants (10)
      • Self Locking Pillows (1)
      • Tuck in Wrap Strios & Rolls (1)
      • Ultra Plastic Pipe Devices (1)
      • Wrap Strips FS-195+ (1)
      • Wrap Ultra GS (1)
    • บทความ (17)
    • สีกันไฟ (8)
    • เรื่องทั่วไป (21)

    About The Blog

    Lorem ipsum dolor sit amet, conse elit porta. Vestibulum ante justo, volutpat quis porta diam.

    Recent Posts

    • An Interview with John Doe
    • An Interview with John Doe
    • 3M FIREDAM SPRAY 200 ราคาถูก

Categories

  • Barrier Pillows
  • Business
  • Coating
  • Composite Sheet CS-195+
  • Construction Joint
  • Design
  • Device & Kids
  • Duct Wrap 165+
  • Fire Barrier Composite Sheets, Mortar and Pillows
  • Fire Barrier Devices
  • Fire Barrier Endothermic Mat
  • Fire Barrier Grease and Air Duct Wraps
  • Fire Barrier Moldable Putty
  • Fire Barrier Packing Material
  • Fire Barrier Plastic Pipe, Collars and Accessories
  • Fire Barrier Sealants
  • Fire Blocks
  • Fire Protection
  • Fire-Rated Gasket Materials
  • FireDam Spray
  • Firestop Identification Labels
  • Firestop Systems
  • Flexible Wrap
  • Foam FB Foam
  • Moldable Putty MP+ Stix and Pads
  • Mortar
  • Our Customer
  • Packing Material
  • Resident & Non Rated
  • Sealant FB 136
  • Sealant FD 150+
  • Sealants
  • Seallant
  • Self Locking Pillows
  • Smoke and Sound Sealant
  • Structural Steel Protection
  • Through Penetration Fire Stops
  • Tuck in Wrap Strios & Rolls
  • Ultra Plastic Pipe Devices
  • Water Tight Sealant 1000 NS
  • Water Tight Sealant 1003 SL
  • Wrap Strips FS-195+
  • Wrap Ultra GS
  • บทความ
  • สีกันไฟ
  • เรื่องทั่วไป
Powered by