บทความ สีกันไฟ เรื่องทั่วไป

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสีกันไฟ (FIRE GUARD)

สีกันไฟ FIRE GUARD

หลายท่านยังคงสงสัยว่า สีกันไฟ มีประโยชน์อะไร และมีความจำเป็นมากแค่ไหน ถึงต้องระบุให้เป็นกฏหมายที่ต้องทำตาม  แถมยังมีมาตรฐานการใช้งานที่ต้องทำให้ถูกต้องด้วย ผมจะขอออธิบายอย่างย่อก่อนจะไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างโพสนี้

 

สีกันไฟ (FIRE GUARD) คืออะไร

สีกันไฟก็คือสีที่ทนความร้อน ทนไฟนั่นแหละ คือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ จะกันไม่ให้โครงสร้างของตัวอาคารได้รับความร้อน และส่งต่อความร้อนไปยังห้องอื่นที่ไม่ใช่ต้นเพลิง ช่วยป้องกันการลามไฟไม่ให้ลุกลาม และยังช่วยให้โครงสร้างอาคารไม่เสียรูป เสียคุณสมบัติความเเข็งแรง รับน้ำหนักโครงสร้างได้ ไม่พังถล่มลงมาก่อน คิดง่ายๆเมื่อเอาเหล็กมาเผาไฟมันจะอ่อนลงนั่นเอง

สีทนไฟเป็นวัสดุกันไฟประเภท Passive Fire Protection มีลักษณะเหมือนสี และคงสภาพเสถียรในสภาวะที่อุณหภูมิภายนอกปกติ แต่ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และอุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นถึงประมาณ 200 °C สารเคมีใน FIRE GUARD จะเริ่มทำปฏิกริยาและพองตัวขึ้นเป็นโฟมสูญญาอากาศ เคลือบผิวเหล็ก ทำให้ความร้อนของเปลวไฟเคลื่อนตัวผ่านไปสู่ผิวเหล็กช้าลงสามารถทนไฟได้ 1 – 3 ชั่วโมง มีความยืดหยุ่นสูง สามารถยึดติดกับชั้นรองพื้นผิวงานโลหะ และโลหะผสม ทำให้ช่วยยับยั้งการแพร่ผ่านของความร้อน ลดการลุกไหม้บริเวณพื้นผิวของวัสดุที่สามารถติดไฟได้

สีกันไฟ13
สีกันไฟ

 

สีกันไฟ14
ตัวอย่างสีทนไฟ

ชนิดสีกันไฟ ที่นิยมใช้กัน

  • DU – FIRE SHIELD # 682 ใช้ทาโครงเหล็กของอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน คอนโดมิเนียม โรงกลั่นน้ำมัน และอาคารทั่วไปที่ต้องการป้องกันไฟ สารฉนวนพิเศษ
  • DU – FIRE SHIELD # 682 ที่ทาผิวเหล็กโครงสร้างอาคาร เมื่อถูกเปลวไฟและความร้อนจะพองตัวและเกิดโฟมสูญญากาศระหว่างผิวเหล็กแและเปลวไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคาร ทำให้ความร้อนเปลวไฟเคลื่อนผ่านโฟมสูญญากาศไปสู่ผิวเหล็กช้าลง โครงสร้างเหล็กทั่วไปจะสูญเสียกำลังเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส (ความร้อนเปลวไฟขณะเกิดเพลิงไหม้ซึ่งสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส) กว่าอุณหภูมิของผิวเหล็กจะสูงถึง 550 องศาเซลเซียส ต้องใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง (ที่ความหนาของฟิลม์สี DU – FIRE SHIELD # 682 ที่ 1 มิลลิเมตร)

 

ชนิดของสีกันไฟ
ชนิดสีกันไฟ

ประเภทสีกันไฟที่ใช้กันมีกี่แบบ

เราแบ่งประเภทสีได้อย่างน้อย 3 ประเภทตามส่วนผสมที่ใช้ผลิต

  • สีกันไฟที่มีตัวทำละลายที่ไม่ใช่น้ำเป็นส่วนประกอบ ( Single Part Solvent-Based )มักใช้กับโครงสร้างที่อยู่ภายนอกอาคารซึ่งมักต้องสัมผัสกับสภาวะแวดล้อมโดยตรง
  •  สีกันไฟที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ( Single Part Water-Base )ข้อดีคือกลิ่นจะไม่รุนแรง เหมาะกับการใช้กับโครงสร้างภายในอาคาร แต่ข้อจำกัดคือจะไม่ทนทานต่อสภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่ต่ำ
  •  Two-Part Epoxy Solvent Free หรือ Solvent-Based พฤติกรรมเพื่อได้รับความร้อนจะคล้ายกับสองประเภทแรกคือจะมีการขยายตัว แต่จะมีความทนทานต่อคลื่นความร้อนและการสึกกร่อนได้ดีกว่าสองประเภทแรก จึงมักใช้กับพื้นที่ที่เข้าซ่อมบำรุงได้ยาก เช่นโครงสร้างในทะเล โรงงานเคมีอันตราย เป็นต้น
งานสีกันไฟที่ Zyxel (ราชพกฤษ์)

 

สีกันไฟ FIRE GUARD ทำงานอย่างไร

หลังการเผาไหม้
สีกันไฟ4
ก่อนการเผาไหม้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สีกันไฟจะป้องกันไม่ให้โครงสร้างตึก โครงสร้างอาคารได้รับความร้อน จนเสียความเเข็งแรง โดยทั่วไปโครงสร้างเหล็กจะสูญเสียคุณสมบัติในการรับแรงเมื่อเกิดไฟไหม้ และอุณหภูมิของเหล็กสูงถึงจุด 530°C ความต้องการใช้วัสดุกันไฟประเภท “สีกันไฟ” (Fire Protective Intumescent Coating) จึงเพิ่มมากขึ้น

การใช้งาน สีกันไฟ FIRE GUARD

-ใช้ทาโครงสร้างเหล็กของโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล คลังสินค้า และอาคารทั่วไปเพื่อป้องกัน และชะลอการทรุดตัวของอาคารให้ช้าลงเมื่อเกิดเพลิงไหม้

-นอกจากโครงสร้างเหล็กแล้ว FIRE GUARD ยังสามารถใช้ทาวัสดุอื่นๆ เพื่อป้องกันไฟ เช่น วัสดุที่ทำจากไม้, Fiber board และวัสดุที่ทำจากโฟม

-ในกรณีที่ต้องการความสวยงาม หรือการป้องกันพิเศษสำหรับสภาวะแวดล้อมที่กัดกร่อนโครงสร้างเหล็ก สามารถทาทับ FIRE GUARD ด้วยสีทับหน้าประเภท polyurethane, epoxy และ synthetic enamel

การติดตั้งทาสีกันไฟ FIRE GUARD

  • พื้นผิวต้องสะอาดและแห้ง
  • สามารถติดตั้งโดยใช้ แปรง, ลูกกลิ้ง หรือ เครื่องพ่นแบบ Airless Sprayer
  • ไม่แนะนำให้เจือจางสี ในกรณีที่จำเป็นให้ใช้น้ำสะอาดในปริมาณ 5%
  • ไม่ควรติดตั้ง FIRE GUARD เมื่ออุณหภูมิที่พื้นผิวหรืออุณหภูมิภายนอกต่ำกว่า 10 °C หรือความชื้นสัมพัธน์สูงกว่า 85%
  • ใช้น้ำสะอาดในการทำความสะอาดอุปกรณ์
ระบบสีกันไฟ

 

ข้อมูลทางเทคนิคสีกันไฟ

ประเภทของสี เป็นสีกันไฟสูตรน้ำไม่มีส่วนผสมของสารพิษ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
เฉดสี ขาว
ลักษณะฟิล์ม แบบด้าน
ความหนืด 115 – 120 KU @25 °C
ความถ่วงจำเพาะ 1.00 ± 0.05
ค่า pH 8.5 – 9.0
เนื้อสีโดยน้ำหนัก 69 ± 1%
จุดวาบไฟ ไม่มี
ระยะเวลาแห้ง แห้งสัมผัสได้ 3 ชั่วโมง, แห้งแข็ง 12 ชั่วโมง, แห้งสนิท 24 ชั่วโมง
การคลุมพื้นที่ตามทฤษฎี 11 ตร.ม./แกลลอน/500 DFT

 

มาตราฐานและผลการทดสอบสีกันไฟ

  • FIRE GUARD ได้ผ่านการทดสอบจากศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามมาตราฐาน ASTM E119
  • FIRE GUARD ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตราฐาน ISO 9001

การทดสอบตามมาตราฐาน ASTM E119
Test Time: 2:00:30 hrs. Oven Temp: 1016 °C

สี FIRE GUARDก่อนการทดสอบ
สี FIRE GUARDหลังผ่านการทดสอบ
สี FIRE GUARDก่อนและหลังส่วนประกอบสารเคมีทำปฎิกริยา

กฏหมายที่เกี่ยวกับสีกันไฟ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโครงสร้างหลักจากไฟ  ประกอบด้วยกฎกระทรวง 3 ฉบับดังนี้

กฏหมายที่เกี่ยวกับสีกันไฟ
กฎหมายสีกันไฟ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อ24 ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
  1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
  2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ.2549) ออกตามพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

เหตุผลในการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวคือ โดยที่ปัจจุบันโครงสร้างหลักของอาคารส่่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอัตราการทนไฟได้ไม่นาน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้อาคารเกิดการยุบตัวหรือพังทลายได้ง่ายไม่สามารถเข้าช่วยเหลือหรือขนย้ายคนและทรัพย์สิน ออกจากอาคารได้ทัน อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินสมควรที่กำหนดคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคารและวิธีป้องกันโครงสร้างหลักจากไฟ

นอกจากนี้ต้องมีวุฒิวิศวกรโยธาประจำบริษัทจำกัดซึ่งเป็นสถาบันที่เชื่อถือได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) ลงนามรับรองอัตราทนไฟในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษาประกอบในการยื่นขออนุญาตด้วย

ตัวอย่างรูปภาพประกอบ

 


บทความโดย : firebarrier.in.th

Related posts